วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

เที่ยวเช้ายันค่ำ...ชะอำบ้านเรา

         


          ช่วงวันหยุดสั้นๆ ถ้าเกิดอยากเที่ยวทะเลนายสัญจรขอแนะนำหาดชำอำทะเลแห่งจังหวัดเพชรบุรี  หาดชะอำนั้นเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ  และอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ  มากนัก  อีกทั้งการเดินทางไปก็สะดวกสบาย  และยังสามารถไปได้ทั้งทางรถไฟ  รถประจำทาง  และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล  สะดวกไปช่องทางไหนก็ไปช่องทางนั้น
          สำหรับนายสัญจรเองเคยเดินทางไปกับเพื่อนๆ  ด้วยรถไฟเมื่อสมัยเรียน  ช่วงนั้นยังวัยรุ่นอยู่จึงเป็นอะไรที่สนุกสนานมากๆ  ถ้ามีโอกาสนายสัญจรก็คิดไว้จะลองกลับไปย้อนอดีตอีกสักครั้ง
           หาดชะอำนั้นนับได้ว่าเป็นชายหาดที่คนไทยในภาคกลางให้ความสนใจลำดับต้นๆ  ดังนั้นจึงทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวที่บริเวณชายหาดชะอำเป็นบรรยากาศแบบไทยๆ  ซึ่งจะแตกต่างกับชายหาดหัวหิน  ที่นักท่องเที่ยวส่วนมากจะเป็นชาวต่างชาติเพราะบรรยากาศแบบไทยๆ  นี้เองที่เป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทย  ให้เดินทางมาท่องเที่ยวกันอย่างมากมายในช่วงวันหยุด  สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติก็มีแต่น้อย  ส่วนใหญ่จะเลยไปหัวหินกันหมด



  


 ประวัติความเป็นมา  “ชะอำ”

          ชะอำมีชื่อเดิมว่า  “ชะอาน”  เล่ากันว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  และสมเด็จพระเอกาทศรถทรงนำทัพมาทางใต้  และนำทัพมาที่เมืองนี้  เพื่อไพร่พล  ช้าง  ม้า  และล้างอานม้า  จึงได้ชื่อว่า  “ชะอาน”  ต่อมาชื่อนี้จึงเพี้ยนมาเป็น  “ชะอำ”  ชะอำครั้งอดีตมีความเจริญทางด้านการท่องเที่ยวตั้งแต่ทางรถไฟสายใต้สร้างมาถึงในราวปี  พ..2495 
          ชายหาดชะอำนั้นเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักกันมานานแล้วแต่ในอดีตนั้นยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร  จนกระทั่งเมื่อปี  พ..2464  พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราทิปประพันธ์พงศ์และพระบรมวงศานุวงศ์  รามไปถึงข้าราชบริพารในสมัยนั้น  ได้ออกสำรวจพื้นที่ชายทะเลชำอำและได้มาจับจองชายที่ดินทะเลตำบลชะอำ
          ชะอำในอดีตนั้นอยู่ในความดูแลของอำเภอนายาง  จังหวัดเพชรบุรี  ชายทะเลของชะอำในสมัยก่อนเป็นป่า  ตรงพื้นที่ด้านชายทะเลเป็นดงกระบองเพชรป่าหนามเสมาสลับกับมะขามเทศและต้นรัก  ราษฎรในอดีตมักจะนิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ทำนา  ทำไร่สับปะรด  และทำการประมง
         หมู่บ้านชะอำนั้นตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟบ้านชะอำทางทิศตะวันตกของทางรถไฟ  หมู่บ้านชะอำเป็นเพียงหมูบ้านเล็กๆ  ที่บ้านปากคลอง  และบ้านหนองแจง
          เมื่อชะอำเริ่มเป็นที่รู้จักว่าเป็นเมืองชายทะเลที่สงบเงียบมีธรรมชาติสวยงาม  อีกทั้งมีแหล่งน้ำจืดที่อุดมสมบูรณ์  ทำให้มีราษฎรอพยพเข้ามาปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  จากชุมชนเล็กๆ  ขยายตังเป็นชุมชนใหญ่  มีการรวมตัวและจัดตั้งเป็นหมู่บ้านให้ชื่อว่า  “สหคาม”  โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้โปรดเกล้าให้แต่งตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์  ได้ทรงวางผังเมืองชะอำ  วางผังตัดถนน  และมีพระประสงค์เพื่อให้ชะอำเป็นที่พักตากอากาศตามแผนพัฒนาชะอำ  ที่พระองค์ได้จัดทำขึ้น  โดยมีกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์  เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี  และกรมพระยามโนปกรณ์ฯ  ร่วมเป็นที่ปรึกษา
           ชะอำจึงเป็นเมืองตากอากาศที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย  ที่รู่จักกันในหมู่ชาวต่างประเทศ  และยังเป็นที่ตั้งของพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน  ซึ่งเป็นพระราชวังฤดูร้อน








ไปชะอำ  รถยนต์ส่วนตัว





           ทางที่สะดวกและใกล้ที่สุด  คือ  จากกรุงเทพฯ  ใช้ทางหลวงหมายเลข  35  (สายธนบุรี-ปากท่อ)  ผ่านสมุทรสาคร  สมุทรสงคราม  และอำเภอปากท่อ  แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข  4  ไปจังหวัดเพชรบุรี  รวมระยะทางประมาณ  123  กม.  หรือจากกรุงเทพฯ  เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลย  ผ่านนครปฐม  ราชบุรี  ไปยังเพชรบุรี  เป็นระยะทาง  166  กมสอบถามเพิ่มเติมได้ที่  โทร.  1543


รถโดยสารประจำทาง


          
           มีทั้งรถประจำทางปรับอากาศ  และรถธรรมดา  ออกจากสถานีขนส่งสายใต้  ถนนบรมราชชนนี  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  โทร.  0-2435-1199,0-2434-7192,0-2435-5605  รถโดยสารของบริษัทเอกชน  ติดต่อที่เพชรบุรีทัวร์  โทร.  0-2435-7408  หรือเว็บไซต์  www.transport.co.th
          นอกจากนี้ยังสามารถโดยสารรถประจำทางสานใต้หลายสายที่ผ่านเพชรบุรี  เช่น
-      สายกรุงเทพฯ  -  ชุมพร
-      สายกรุงเทพฯ  -  หัวหิน  -  ปราณบุรี  เป็นต้น
จากกรุงเทพฯ  ยังสามารถเดินทางไปยังอำเภอต่างๆของจังหวัดเพชรบุรีได้  คือ
-       กรุงเทพฯ  -  ชะอำ
-       กรุงเทพฯ  -  ท่ายาง
-       กรุงเทพฯ  -  บ้านแหลม
          นอกจากนี้จากตัวเมืองเพชรบุรียังมีรถโดยสารไปยังหัวหิน  ปราณบุรี  ประจวบคีรีขันธ์  ชุมพร  และราชบุรีอีกด้วย
          

รถไฟ


          จากกรุงเทพฯ  มีบริการรถไฟไปเพชรบุรี  และอำเภอชะอำทุกวัน  รถไปออกจากสถานีรถไปหัวลำโพง  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน่วยบริการเดินทาง  โทร.  0-2411-3102  หรือที่เว็บไซต์  http://www.railway.co.th/



ตะลุยเมืองเพชรอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี(เขาวัง)






            เขาวังเป็นที่ตั้งของพระราชวังแห่งแรกในหัวเมือง  ในสมัยรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดเกล้าฯ  ให้สร้างเป็นที่ประทับเพื่อเสด็จแปรพระราชฐานมาพักผ่อนพระอิริยาบถ  ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงามบนเขาแห่งนี้  เนื่องจากเขาวังมีอาณาบริเวณกว้างขวาง  และสิ่งควรชมจำนวนมาก  ถ้านักท่องเที่ยวมีเวลามากพอสมควรก็จะได้เที่ยวชมสถานที่ต่างๆ  ได้อย่างทั่วถึง
         สำหรับผู้ที่ต้องการขึ้นไปบนเขาวัง  ทางอุทยานประวัติศาสตร์ก็มีสถานีรถรางไฟฟ้า  หรือเคเบิ้ลคาร์ไว้บริการ
           สถานีรถราง  ตั้งอยู่ทางด้วนหลังของเขาวัง  หากขับรถยนต์ส่วนตัวมาจากกรุเทพฯ  เมื่อเลี้ยวซ้ายเข้าเพชรบุรีประมาณ  กมจะมองเห็นธนาคารกรุงไทย  สาขาพระนครคีรี  อยู่ทางด้านขวามือ  ให้กลับรถแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนเลียบคลองชลประทานข้างธนาคาร  ประมาณ  800  ก็จะถึงที่ตั้งสถานี
           รถรางไปฟ้านั่งได้  15-20  คน/เที่ยว  และนอกจากรถรางไฟฟ้านักท่องเที่ยวก็สามารถเดินขึ้นไปเองก็ได้  โดยในระหว่างทางเดินขึ้นไปนั้นนักท่องเที่ยวก็จะได้พบกับความซุกซนของเหล่าบันดาลิงแสมที่อาศัยอยู่บริเวณเขาวัง  แต่นักท่องเที่ยวจะต้องระวังตัวให้ดี  เพราะลิงเหล่านี้มักชอบแย่งสิ่งของต่างๆ  ของนักท่องเที่ยว  ไม่ว่าจะเป็นของกิน  หมวก  กระเป๋า  แว่นตา  กล้องถ่ายภาพดังนั้นจะเดินขึ้นไปบนเขาวังก็ไม่ควรหิ้วอาหารขึ้นไปด้วยจะเป็นการดีที่สุด


พระราชวังนิเวศน์มฤคทายวัน




           พระราชวังนิเวศน์มฤคทายวันตั้งอยู่ในบริเวณค่ายพระรามหกที่ตำบลห้วยเหนือ  อำเภอชะอำ  จังหวัดเพชรบุรี  ตรงหลักกิโลเมตรที่  216  เลยหาดชะอำมาเล็กน้อย  เป็นพระตำหนักที่ประทับริมทะเลซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดให้รื้อพระตำหนักหาดเจ้าสำราญมาปลูกขึ้นใหม่  แล้วเสร็จเมื่อปี  พ..  2467  ได้รับขนานนามว่า  “พระราชนิเวศน์แห่งความรักและความหวัง”  ลักษณะเป็นไม้สองชั้นหันหน้าออกสู่ทะเล  พระตำหนักฝ่ายในอยู่ปีกขวา  ทางปีกซ้ายเป็นส่วนของฝ่ายหน้า  ประกอบด้วยพระที่นั่งสามองค์เชื่อมต่อกันโดยตลอด
           พระที่นั่งสุนทรพิมาน  พระที่นั่งแห่งนี้เป็นที่ประทับของพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี  พระวรชายา
           พระที่นั่งพิศาลสาคร  เป็นที่ประทับของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เป็นหมู่พระที่นั่ง  ตรงกลางประกอบด้วยห้องต่างๆ  สำหรับสำราญพระอิริยาบถ  ห้องพักข้าราชบริพารที่คอยรับใช้ใกล้ชิด  และห้องทรงพระอักษร
          พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์  เป็นอาคารโถงสองชั้น  เปิดโล่ง  ใช้เป็นที่ประชุมในโอกาสต่างๆ  และเป็นโรงละครซึ่งเคยจัดแสดงละครครั้งสำคัญ   2  ครั้ง  คือ  เรื่องพระร่วง  และวิวาห์พระสมุทร
          พระราชวังนิเวศน์มฤคทายวัน  เปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างเวลา  8.30  -  16.00  สำหรับผู้ใหญ่เข้าชมเป็นหมู่คณะ  ต้องหนังสือถึงผู้กำกับการกองบังคับการฝึกพิเศษ  ค่ายพระรามหก  อำเภอชะอำ  จังหวัดเพชรบุรี  โทร.  0-3247-1388


พระดังเมืองเพชร   หลวงพ่อทอง  วัดเขาตะเครา




          วัดตะเครานั้นตั้งอยู่ตำบลบางครก  อำเภอบ้านแหลม  สามารถไปได้สองเส้นทาง  ทางแรกก่อนจะเข้าตัวเมืองเล็กน้อยมีถนนแยกซ้ายมือเข้าสู่วัดตะเคราระยะทาง  15   กมส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือ  เดินทางจากเมืองเพชรไปบ้านแหลมแล้วขับรถต่อไปอีก  กมก็ถึงวัดตะเครา
          ที่วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย  สูง  29  นิ้ว    หน้าตักกว้าง  21  นิ้ว  เรียกกันว่า  หลวงพ่อตะเคราหรือหลวงพ่อทอง  มีชาวเมืองและนักท่องเที่ยวไปกราบไหว้ปิดทองเป็นอันมาก  กระทั่งบัดนี้แลไม่เห็นพุทธลักษณะเดิม  มีประวัติเล่าถึงหลวงพ่อองค์นี้ว่าเป็นพระพี่พระน้อง  องค์  กับหลวงพ่อโสธร  จังหวัดฉะเชิงเทรา  หลวงพ่อบ้านแหลม  จังหวัดสมุทรสงคราม  บางตำราว่าเป็นพี่น้องกันถึง  5  องค์  คือหลวงพ่อบางพลีใหญ่  และหลวงพ่อวัดไร่ขิงที่นครปฐมด้วย
          ที่มาของพระพุทธรูปองค์นี้เมื่อปลายสมัยอยุธยาตอนที่ชาวบ้านแหลมเมืองเพชรหนีพม่าไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ปากน้ำแม่กลอง  จนกระทั่งกลายมาเป็นบรรพบุรุษชาวสมุทรสงครามจนถึงทุกวันนี้


หลวงพ่อแดง  วัดเขาบันไดอิฐ





          “หลวงพ่อแดง”  หรือ  “พระครูญาณวิลาศ”  พระชื่อดังแห่งวัดเขาบันไดอิฐ  เป็นพระเกจิที่มีญาณสมาธิแก่กล้า  และมีจิตตานุภาพสูงเพ่งเครื่องรางให้ขลังได้
         ผ้ายันต์  และเหรียญลงยันต์ของหลวงพ่อแดงนั้นมีผู้นิยมเสาะหาไปบูชากันมาก  หลวงพ่อรูปนี้ท่านมีอะไรดี  ทำไมใครๆ  ทั่วสารทิศจึงพากันมาวัดเขาบันไดอิฐกันไม่ขาดสาย
         มีเรื่องเล่ากันมาว่า  ระหว่าง  พ..2477  ถึง  พ..2480  เวลานั้นเกิดโรคระบาดในสัตว์  วัวควายเป็นโรคปากเท้าเปื่อยติดต่อร้ายแรงพากันล้มตายเป็นเบือ  ราษฎรจึงพากันไปหาหลวงพ่อให้ช่วยปัดเป่าป้องกันโรคระบาดในสัตว์ให้ด้วย  หลวงพ่อแดงจึงปลุกเสกเลขยันต์ในผ้ารูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ  แจกให้ชาวบ้านที่เลี้ยงวัวควายนำไปผูกปลายไม้ปักไว้ที่คอกสัตว์ของตน
          จากนั้นปรากฏว่า  คอกสัตว์ที่ปักผ้าประเจียดยันต์หลวงพ่อแดงเลยไม่ตาย  ทุกบ้านในตำบลใกล้เคียงวัดเขาบันไดอิฐเมื่อรู้กิติศัพท์จึงพากันมาขอยันต์หลวงพ่อแดงทุกวันมิได้ขาด  แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้วตั้งแต่  16  มกราคม  พ..2517  แต่ความนิยมเลื่มใสศรัทธาในวัตถุมงคลของท่านยังไม่เสื่อมคลาย


ร้านอร่อยในหาดชะอำ

          สำหรับร้านอาหารบริเวณหาดชะอำนั้นมีอยู่มากมายหลายร้าน  ทั้งร้านอาหารตามสั่งง่ายๆ  ร้านส้มตำ  ไก่ย่าง  ข้าวเหนียว  อาหารประจำริมทะเล  หรือจะเป็นภัตตาคารสุดหรูของโรงแรมใหญ่ๆ  และร้านอาหารทะเลที่ขึ้นชื่อหลายร้าน  นักท่อเที่ยวก็จะสามารถเลือกชิมได้ตามใจชอบ
          แต่ถ้าเป็นนายสัญจรไปเที่ยวทะเล  นายสัญจรก็จะขอเลือกอาหารทะเลเป็นหลัก  มาทะเลทั้งทีจะไปกินข้าวผัด  หรือว่ากระเพราไก่ไข่ดาวได้อย่างไร 
         สำหรับร้านอาหารทะเลที่นายสัญจรอยากจะแนะนำก้อคือร้านอาหารบริเวณทางไปสะพานปลา  เพราะแถวนั้นมีร้านอาหารทะเลตั้งอยู่หลายร้าน  เช่น


ครัวเม็ดทราย  โทร.0-3243-0196


ครัวไข่มุก  โทร.0-3234-0376


ปลาทู  เรสเตอรองส์  โทร.0-3250-8175


ชมวิวซีฟู้ด  โทร.084-7228038


สังเวียนซีฟู้ด  โทร.0-3247-2280


ขามเงินซีฟู้ด  โทร.0-3247-0669



สิ่งมหัศจรรย์ทัเลไทยหาดชะอำก็มี




1. ส้มตำ  ข้าวเหนียว  ไก่ย่าง
          สำหรับบรรยากาศชายหาดแบบไทยๆ  ก็ต้องมีข้าวเหนียว  ส้มตำ  ไก่ย่าง  ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็เจอ
          ซึ่งในอาหารชุดนี้ถือได้ว่าเป็นอาหารประจำชาติไทยของเราไปแล้วก็ว่าได้  เพราะไปทะเลแทบทุกที่ต้องมีข้าวเหนียว  ส้มตำ  และไก่ย่างขายซึ่งถือเป็นข้อดีเพราะเป็นเครื่องยืนยังได้ว่า  ไปเที่ยวทะเลแล้วจะไม่อดตายอย่างแน่นอน
          สำหรับหาดชะอำร้านส้มตำนั้นมีให้เลือกมากมาย  และอร่อยทุกร้าน  แต่ก่อนจะสั่งขอแนะนำว่าให้ตรวจดูราคาให้ดีๆ  ก่อนจะสั่ง  ไม่ว่าจะเป็นน้ำแข็ง  น้ำเปล่า  ก็ควรจะตรวจให้ดีๆ  เพราะถ้าดวงซวยเจอบางร้านที่แม่ค้าใจร้ายก็อาจจะโดนฟันก็ได้  ผู้อ่านคงไม่เข้าใจนะว่าโดนฟันในที่รี้คืออะไร




 2.  เตียงผ้าใบหรือเตียงชายหาดให้เช่าอีกหนึ่งความมหัศจรรย์ของชายหาดไทย  เพราะแทบทุกหาดก็ต้องมี  หาดชะอำก็มีเยอะหัวหินไม่ค่อยมีเพราะฝรั่งไม่ค่อยนิยม  แต่นายสัญจรเคยไปบางแสนเตียงผ้าใบเยอะมากมาย  เยอะถึงขนาดแทบไม่มีทางเดิน  เตียงผ้าใบนั้นก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ยืนยันได้ว่า  ถ้าคุณเที่ยวทะเลคุณมีที่นั่งพักผ่อน  นั่งกินดื่มกันริมทะเลได้อย่างสบายๆ  แน่นอน
           นายสัญจรได้หาราคาในการเช่าเตียงผ่าใบที่เทศบาลเมืองชะอำได้กำหนดขึ้นมา  คือ  เตียงผ้าใบ    30  บาท/ตัว  นั่งได้  5  ชั่งโมง  ราคาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อย




3.  ห่วงยางเช่า คือ  สุดยอดของอุปกรณ์เล่นน้ำ  และยังถือว่าเป็นอุปกรณ์คลาสิก  เพราะว่าไม่ว่าจะไปที่หาดไหน  ก็จะต้องเจอแทบทุกหาด  ทั้งคนจนคนรวยต่างก็ชอบเล่นห่วงยวง  และค่าเช่าห่วงยางก็ไม่แพง  50  บาท  ก็เล่นได้ทั้งวัน  ลอยคอโต้คลื่นไปโต้คลื่นมาก็สนุกแล้ว  บางครั้งเช่าห่วงยางใหญ่ๆ  ก็เล่นได้ตั้ง  2-3  คน  สำหรับที่หาดชะอำนั้น  เมื่อไปถึงแล้วก็ไม่ต้องกลัวว่าจะหาห่วงยางเช่าไม่ได้  เพราะว่ามันมีให้เช่าอยู่ตลอดแนวชายหาดสำหรับสำหรับราคาก็ให้ลองสอบถามดูหลายๆ  แห่ง  เผื่อว่าจะได้ของถูก


ราคาห้องพัก  เรือกล้วย  ร้านอาหาร   ของกิน  ณ  ชายหาดชะอำ

1.    สำหรับราคาห้อพัก  ราคาอาหาร
ในร้านผู้ประกอบการมีราคาแจ้งไว้ชัดเจนหน้าสถานประกอบการราคาอาหาร(ร้านอาหาร)  /  ราคาห้องพักตามกฎหมายผู้มีอำนาจจับปรับ  คือ  กรมการค้าภายใน  หรือ  สนง.การค้าภายในจังหวัดเพชรบุรีเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองชะอำไม่มีอำนาจจับปรับ  แต่มีหน้าที่ดูแลผู้ประกอบการให้ขายภายในราคาที่แจ้งตามป้ายราคาหากขายเกินราคาเจ้าหน้าที่เทศบางทำได้เพียงแจ้งเตือนให้ขายตามราคาป้าย
           สำหรับประกาศจังหวัดเพชรบุรีเรื่องการปิดป้ายแสดงราคา
1.     ให้จำหน่ายสินค้าราคาที่เป็นธรรม  และปิดป้ายแสดงราคาอย่างชัดเจน  (ฝ่าฝืนปรับ  10,000  บาท) 
2.      กักตุนสินค้า  ขึ้นราคาสินค้าโดยไม่มีเหตุผล  (จำคุกไม่เกิน  7  ปี  ปรับไม่เกิน  140,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ)
ผู้บริโภคที่ไม่ได้รับคามเป็นธรรม 
ร้องเรียนได้ที่..
สายด่วนแม่บ้าน  1569  กรมการค้าภาใน  สนง.การค้าภายใน  จ.เพชรบุรี  โทร.0-3242-5431,0-3240-1391
เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย

2.ของกินหาบเร่  เตียงผ้าใบ  เรือกล้วย
       ทุกวันจะมีเจ้าหน้าที่เทศกิจเทศบาลตรวจสอบอยู่เป็นประจำ  เทศบาลมีระเบียบผู้ประกอบการเรือเจ็ตสกี  และเรือกล้วย  ข้อกำหนดสำหรับผู้ประกอบการค้าหาบเร่  แผงลอย  เพื่อการควบคุมผู้ประกอบการ  โดยผู้ประกอบการทั้งหมดจะต้องทำประวัติกับเทศบาล  ทำบัตรผู้ทำการค้าขายเพื่อไว้ควบคุม  และตรวจสอบผู้ละเมิด  และจัดให้มีการติดป้ายแสดงราคาไว้อย่างชัดเจน  ณ  สิ้นค้าที่จำหน่าย
ราคาปัจจุบัน
เรือกล้วย  -  ครึ่งชม.  800  บาท  ชม.  1,600  บาท
รอบละ 100  บาท/คน
เจ็ตสกี  ครึ่งชม.  1,200  บาท  ชม.  2,400  บาท
โดนัน  รอบละ  200  บาท/คน  รอบหนึ่งประมา  10  นาที
*มีการควบคุมและกำหนดราคาโดยชมรมเรือกล้วย*
เตียงผ้าใบ  -  30  บาท/ตัว  นั่งได้  ชม.
ของกินหาบเร่  -  ราคาตามป้าย  เช่น  ของทอด  กล่อง  100  บาท  กล่องละ  35  บาท
          หากพบผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรม  สามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานปลัดเทศบาลงานเทศกิจ  0-3243-37221  หรือติดต่อมาที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว  ณ  จุดชมวิวชายหาดชะอำ
          ข้อเสนอแนะในการติดต่อห้องพักหรือบริการต่างๆ
-       ให้ติดต่อโดยตรงกับสถานประกอบการเอง  เพื่อให้ได้ราคาที่เป็นธรรม 
-      ขอรับใบเสร็จ  และระบุรายละเอียดตามที่ให้บริการ  ตามจำนวนเงินที่ชำระจริง  เพื่อสามารถนำมาเป็นหลักฐานในการร้องเรียนเมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรม        
         

 ______________________________________________________________


ข้อมูลจาก :  นายสัญจร  ตลอนทัวร์. เที่ยวเช้ายันค่ำชะอำบ้านเรา. กรุงเทพฯ:       สุภัชนิญค์  พริ้นติ้ง


http://www.google.co.th/search?hl=th&q=%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B3&um=1&ie=UTF-8&tbm=isch&source=og&sa=N&tab=wi&biw=1366&bih=631